พิธีกรรม



พิธีกรรม 

http://www.dhammajak.net/board/files/268_1215048923.jpg_186.jpg

ภาพจำลองบรรยากาศงานบุญผะเหวด ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ด 

 

          ชาวอีสาน จะจัดทำบุญผะเหวด ปีละ ๑ ครั้ง ระหว่างเดือน ๓ เดือน ๔ ไปจนถึงกลางเดือน ๕ จังหวัดร้อยเอ็ด จะจัดประเพณีบุญผะเหวดในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคมทุกปี โดยจะมีวันรวมตามภาษาอีสาน เรียกว่า วันโฮมบุญ พุทธศาสนิกชนมาช่วยกันจัดตกแต่งศาลาหรือสถานที่ที่จะทำบุญ จัดเตรียมเครื่องสักการะ ดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวตอก อย่างละพันก้อน มีการตั้งธงใหญ่ ไว้แปดทิศ และมีศาลเล็กๆ เป็นที่เก็บข้าวพันก้อน และเครื่องคาวหวาน สำหรับ ผี เปรต และมารรอบๆ ศาลาการเปรียญจะแขวนผ้าผะเหวด เป็นเรื่องราวของพระเวสสันดร ตั้งแต่กัณฑ์ที่ ๑ ถึงกัณฑ์สุดท้าย การจัดงานบุญผะเหวด หรือ งานเทศน์มหาชาตินิยมที่อัญเชิญพระอุปคุต มาปกป้องคุ้มครองมิให้เกิดเหตุเภทภัยอันตรายทั้งปวง และให้โชค ลาภแก่พุทธศาสนิกชนในการทำบุญมหาชาติ จึงมีการแห่พระอุปคุต ซึ่งสมมุติว่า อัญเชิญมาจาก สะดือทะเล
ก่อนมีงานบุญเผวสหลายวันชาวบ้านชายหญิงทั้งคนเฒ่าคนแก่ซึ่งส่วนมากเป็นหนุ่ม สาวพากันไปรวมกันที่วัดช่วยกันจัดทำที่พักสำหรับผู้มาร่วมงานและช่วยกันจัด ทำดอกไม้จัดตกแต่งประดับประดาศาลาโรงธรรมด้วยดอกไม้ พวงมาลัยและธงทิว พวกผู้หญิงจะจัดทำหมากพันคำ เมี่ยงพันคำ เทียนธูป มีดดาบ อย่างละพันและข้าวตอกดอกไม้ไว้บูชาคาถาพัน
ดอกไม้ ที่จัดมีดอกบัว ดอกกางของ ดอกผักตบชวา อย่างละพันดอก ธงพันผืนทำด้วยเศษผ้า กระดาษสี ขึงด้ายสายสิญจน์ ตั้งหม้อน้ำมนต์ มีขันหมากเบ็ง (ขันบายศรี) แปดอัน โอ่งน้ำ 4 โอ่ง ตั้งไว้สี่มุมของธรรมาสน์ ในโอ่งน้ำมีจอก แหน (สาหร่าย) ดอกไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น ดอกจิกดอกรัง (ดอกเต็งรัง) ดอกบัว ดอกบานไม่รู้โรย ดอกรัก ฯลฯ และใบบัวปั้นรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น รูปนก วัว ควาย ช้าง ม้า ฯลฯ เอาไว้ที่ใต้ธรรมาสต์ เอาธงใหญ่แปดธงปักรอบโรงธรรมนอกศาลาในทิศทั้งแปดเพื่อหมายว่าเป็นเขตปลอดภัย ป้องกันพญามารไม่ให้ล้ำเข้ามาตาม เสาธงมีที่ใส่ข้าวพันก้อน ซึ่งปกติสานเป็นพานด้วยไม้ไผ่ บางแห่งสานเป็นตาด้วยไม้ตอกเป็นคีรีวงกตไว้รอบศาลา และทำเป็นทางเข้าศาลาโรงธรรมคดเคี้ยวไปมาบนศาลาด้านตะวันออกของศาลาโรงธรรม ปลูกหอพระอุปคุตขึ้นไว้พร้อมมีสิ่งเหล่านี้อยู่บนหอด้วย คือ มีบาตร 1 ใบ กระโถน 1 ใบ กาน้ำ 1 ใบ ร่ม 1 คัน และสบงจีวร 1 ชุด สำหรับถวายพระอุปคุต การจัดตกแต่งดังกล่าวจะจัดให้เสร็จเรียบร้อยก่อนวันงาน
วันโฮม (วันรวม) วันแรกของงานเรียกว่า วันรวมหรือวันโฮมในวันรวมนี้นอกจากจะมีประชาชนตามระแวกบ้านและหมู่บ้านอื่นที่ใกล้เคียงหลั่งไหลกันมาร่วมงานแล้วจะมีพิธีสำคัญ คือ
การนิมนต์พระอุปคุต ในตอนเช้ามืดของวันรวมประมาณสี่หรือห้านาฬิกาจะมีพิธีนิมนต์พระอุปคุต โดยก่อนเริ่มพิธีการมีการนำก้อนหินขนาดโตพอสมควรสามก้อนไปวางไว้ในวังน้ำ หรือถ้าไม่มีวังน้ำอาจเป็นที่ใดที่หนึ่งก็ได้ ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากวัดที่จัดงานเท่าใดนัก พอถึงเวลาก็มีการแห่พานดอกไม้ธูปเทียน ขันห้าขันแปด ไปยัง ณ สถานที่ก้อนหินวางอยู่ซึ่งสมมุติว่าเป็นพระอุปคุต   พอ ไปถึงที่ดังกล่าวจะมีผู้ไปหยิบก้อนหินชูขึ้นและถามว่าเป็นพระอุปคุตหรือไม่ สองก้อนแรกจะได้รับคำตอบว่าไม่ใช่ พอถึงก้อนที่สามจะได้รับคำตอบว่าใช่ จึงมีการกล่าวคำอาราธนาพระอุปคุตและอัญเชิญก้อนหินก้อนที่สามซึ่งสมมุติว่า เป็นพระอุปคุตใส่พานหรือถาดและจะมีการจุดประทัดหรือยิงปืนกันตูมตาม แล้วมีการแห่แหนพระอุปคุตพร้อมตีฆ้องตีกลองอย่างครึกครื้นเข้ามายังวัด แล้วจึงนำมาประดิษฐานไว้ที่หออุปคุตด้านข้างศาลาโรงธรรมซึ่งเตรียมจัดไว้ แล้วการนิมนต์พระอุปคุตมาเมื่อมีบุญเผวส ก็เพื่อให้มีความสวัสดีมีชัยและเพื่อให้การจัดงานสำเร็จราบรื่นไปด้วยดี
มูลเหตุดั้งเดิมที่มีการนิมนต์พระอุปคุต มีเรื่องเล่าว่าพระอุปคุตเป็นพระเถระผู้มีฤทธิ์ ได้นิรมิตกุฏีอยู่กลางมหาสมุทร ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชทรงรวบรวมพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าจากที่ต่าง ๆ เอามาบรรจุไว้ในสถูปที่พระองค์สร้างขึ้นใหม่เสร็จแล้วจะจัดงานฉลอง
          พระองค์ทรงพระปริวิตกถึงมารที่เคยเป็นศัตรูกับพระพุทธเจ้าเกรงว่าการจัดงานจะไม่ปลอดภัยจึงมีรับสั่งให้ไปนิมนต์พระอุปคุตมาในพิธีฝ่ายพญามารรู้ว่าพระเจ้าอโศกมหาราชจะฉลองพระสถูป จึงพากันมาบันดาลอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ พระอุปคุตจึงบันดาลฤทธิ์ตอบ ครั้งสุดท้ายพระอุปคุตเนรมิตเป็นสุนัขเน่าแขวนคอมารไว้ มารไม่สามารถแก้ได้เอาไปให้พระอินทร์แก้ให้ พระอินทร์ก็แก้ไม่ได้ มารจึงยอมสารภาพผิด พระอุปคุตแก้ให้แล้วกักตัวมารไว้บนยอดเขา เสร็จพิธีแล้วจึงปล่อยตัวมารไปพระเจ้าอโศกมหาราชและผู้มาร่วมงานนั้นจึง ปลอดภัย     โดย เหตุนี้เมื่อมีพิธีทำบุญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่ใหญ่โต เช่น บุญเผวสจึงได้มีการนิมนต์พระอุปคุตมาด้วย เพื่อเป็นการป้องกันภยันตรายต่าง ๆ และให้เกิดสวัสดีมีชัยดังกล่าว ก่อนพระเทศน์เอาคาถาพระอุปคุตทั้งสี่บทปักไว้ข้างธรรมาสน์ทั้งสี่ทิศด้วย

ขั้นตอนดำเนินการ

สถานที่ บุญมหาชาติเป็นบุญที่เกี่ยวกับศาสนาพุทธโดยตรง ดังนั้นสถานที่ประกอบพิธีกรรมจึงจัดอยู่ที่วัดเป็นส่วนใหญ่ แต่การเทศน์มหาชาติบางครั้งก็มีการนำไปเทศน์ที่งานอุทิศส่วนกุศลต่าง ๆ ก็มีแต่งานบุญมหาชาติจริง ๆ จะต้องทำในบริเวณวัดเท่านั้น  จำนวน พระ จะต้องให้ครบกับจำนวนกัณฑ์เทศน์ ซึ่งชาวอีสานจะแบ่งเรื่องราวออกเป็นกัณฑ์และไปนิมนต์พระวัดต่าง ๆ มาเทศน์ตามกัณฑ์ที่แบ่งไว้นั้นในบุญมหาชาตินี้ จึงนิมนต์พระเป็นจำนวนมาก ๆ ดังนั้นบางแห่งจะมีพระ 30 – 60 รูป แต่หากไม่สามารถนิมนต์ได้จริง ๆ ก็อาจให้พระในวัดหมุนเวียนกันขึ้นไปเทศน์ได้ตามเหมาะสม

คำอาราธนาพระอุปคุต

โอกาสะ โอกาสะ ฝูงข้าทั้งหลาย อภิวันท์ไหว้ยังพระมหาอุปคุตผู้ประเสริฐ มีศักดาเลิศปรากฏ ทรงเกียรติยศขีณา กว่าพระอรหันตาทั้งหลาย ข้าขออาราธณามหาเถระเจ้าผู้มีอาคมแก่กล้า จงเสด็จแต่น้ำคงคา มาผจญมารฮ้าย ด้วยบาทพระคาถาว่า อุปคุตโต มหาเถโร คิชฌะกูโต สา มุทธะโย เอกะมาโร เตชะมาโร ปะลายันตุ ฝูงข้าทั้งหลาย ขออาราธนามหาเถระเจ้าจงมาผจญมลมารทั้งห้า ใต้ลุ่มฟ้าและเวหน ภายบนแต่อกนิษฐาเป็นเค้า ตลอดเท่าถึงนาคครุฑ มนุษย์เทวา ผู้ มีใจสาโหด โกรธาโกรธอธรรม ฝูงมีใจดำบ่ฮุ่ง หน้ามืดมุ่งมานมัว ก้ำฝ่ายเหนือและขอกใต้ ทั้งที่ใกล้และที่ไกล ตะวันตกและตะวันออกของเขตภูมิสถาน อันฝูงข้าทั้งหลายจักฟังธรรมเทศนา ในสถานที่นี้ ขออันเชิญพระอาทิตย์ผู้วิเศษใสแสง พระจันทร์แยงเยืองโลก อังคารโผดผายผัน พุธ พฤหัสพลันแวนเที่ยว ศุกร์เสาร์เกี่ยวคอยระวัง กำจัดบังแวดไว้ เทพไท้ตนลือฤทธิ์พระพาย แมนมิตรไตรสถาน พระอิศวรผันผายแผ่ รัศมีแก่เตโช ผาบศัตรูมารฮ้าย ในคุ้มข่วงเขตสถานอันฝูงข้าทั้งหลาย จักยอทานและฟังเทศน์ องค์เทเวศจงฮักษา กำจัดประดามารโหดฮ้าย ให้พลันพ่ายกลับหนี อย่าฮาวีข่วงเขตที่นี้ ก็ข้าเทอญ.โย โย อุปคุตโต มหาเถโร ยัง ยัง อุปคุตตัง มหาเถรัง กายัง พันธะ มะรัสสะคีวัง สัพเพยักขา ปลายันตุ สัพเพ ภยา ปะลายันตุ สัพเพ ปิสาจา ปะลายันตุ ฝูงผียักษ์และผีเสื้อ ฝูงเป็นใจพญามาร สูท่านทั้งหลายมีใจอันมักผาบแพ้ตนประเสริฐ สัพพัญญู ปะลายันตุ จงผันผายออกหนีจากขอบเขตประเทศที่นี้ ก็ข้าเทอญ.

คาถาพระอุปคุต

บทที่หนึ่ง อุปคุตโต มหาเถโร เยนะสัจเจนะยะสัจ วาขิปุเร อะหุสัจจะ วัชเชนะ วิสังสามัส สะหัญญะตุ
บทที่สอง อุปคุตโต เยนะสัจเจนะ ยะสาโม สัจจิวา มาตา เปติภะโรอาหุ กุเลเชฏฐาปลายิโน เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วิสสา มัสสะ หัญญะตุ
บทที่สาม อุปคุตโต เยนะสัจเจนะ ยะสาโม ปานาปิ ยัตตะโร มะมะ เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วิสัง สามัสสะหัญญะตุ
บทที่สี่ อุปคุตโต ยะจิน จิตตะ ปุญญะมังหะ เจวะ สิตุจะเต สัพเพนะเต สาเลนะ อิสามัสสะหัญญะตุ

         คาถาพัน

          การเทศน์คาถาพัน หมายถึง การเทศน์มหาชาติที่เป็นภาษาบาลีล้วนๆ
จำนวน ๑,๐๐๐ พระคาถา ซึ่งเป็นความรู้ที่สืบต่อกันมาว่า เป็นจำนวนคาถาในเวสสันดรชาดก
 

พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
ได้นับเทียบจำนวนคาถาในบทเทศน์คาถาพันที่ใช้เทศน์กันอยู่
กับจำนวนคาถาในเวสสันดรชาดก และในทีปนีเวสันดรชาดก
ปรากฏว่าไม่เท่ากัน ได้ทรงอธิบายว่า

“ที่จริงจะมีจำนวนเท่าไรไม่สำคัญ
แต่ได้คิดว่าจะนับก็เลยลองนับดู
มีจำนวนนับได้ ๘๕๒ คาถา กับ ๑ บท
แต่จำนวนที่เทศน์อยู่บัดนี้ นับได้ ๑,๐๐๐ คาถา
อันที่จริงจำนวนมากเท่านี้เป็นอเนกสังขยา
ควรแปลว่าประดับด้วยคาถาประมาณ ๑,๐๐๐
แม้จะเกินไปบ้าง ขาดไปบ้างก็ไม่เป็นไร”


อานิสงส์คาถาพัน
          เมื่อครั้งพระมาลัยเถรเจ้ารับดอกอุบลจากบุรุษเข็ญใจแล้วได้นำขึ้นไปบู่ชาพระจุฬามณีเจดียสถานในดาวดึงสโลก
และมีโอกาสสนทนากับพระศรีอาริยเมตไตรย์ พระองค์ได้ตรัสแก่พระเถรเจ้าว่า

“ขอพระคุณเจ้าได้บอกแก่มนุษย์ทั้งหลายว่า
ผู้ใดใคร่อยากพบปะพระศรีอาริย์เจ้า
ผู้นั้นพึงงดเว้นอนันตริยกรรม ๕ ประการ มีฆ่าบิดามารดา เป็นต้น
และพึงอุตสาหะ หมั่นก่อสร้างกองการกุศล
มีให้ทาน รักษาศีลเจริญภาวนา
และสดับตรับฟังพระธรรมเทศนามหาเวสสันดรชาดก
อันประกอบด้วยคาถาพันหนึ่ง
กระทำสักการบูชาด้วยข้าวตอกดอกไม้ต่างๆ และดอกไม้ธูปเทียนอย่างละพัน
ตั้งใจฟังให้จบเพียงวันเดียวครบบริบูรณ์ทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ดังนี้แล้ว
จะได้พบพระศรีอาริย์พุทธเจ้าในอนาคตโดยแท้
หากดับขันธ์แล้วก็จะได้ไปเกิดในสุคติสวรรค์เสวยทิพยสมบัติอันมโหฬาร
ครั้นถึงพุทธกาล พระศรีอาริย์พุทธเจ้า เทพบุตร เทพธิดาเหล่านั้น
ก็จะได้จุติลงไปเกิดเป็นมนุษย์
ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนา ก็จักได้บรรลุมรรคผล
มีพระโสดาปัตติผล เป็นต้น เป็นพระอริยะบุคคลในพระพุทธศาสนาดังนี้” 

  คติสอนใจ

          เรื่อง พระเวสสันดร มีคติสอนใจหลายประการ โดยเฉพาะเรื่องทานบารมี ทำให้คนฟังมีความซาบซึ้งในเนื้อหาและสนุกสนานในทำนองเทศน์ไปด้วย การเทศน์ทำนองดังกล่าว เรียกว่า แหล่ผะเหวด ชาวบ้านจะไปนิมนต์พระเสียงดีมาเป็นพิเศษเรียกว่า เทศน์เสียง พระนักเทศน์เสียงเก่าๆ เป็นพระนักเทศน์อาชีพ มีผู้ฟังนิยมมากเหมือนกับหมอลำ ที่ลำเก่งๆชาวอีสานถือคติว่าผู้ใดฟังเทศน์มหาชาติครบพันพระคาถาในวันเดียว ผู้นั้นจะมีบุญบารมีมากไม่ตกนรก และจะได้ไปเกิดในสมัยของพระพุทธเจ้าองค์สุดท้าย คือ พระศรีอริยเมตไตรยหรือที่ชาวอีสานเรียกว่า พระศรีอารย์ การเทศน์มหาชาตินั้นในอดีตจะเทศน์ให้จบทั้งพระพันคาถาในวันเดียว ตั้งแต่เวลาเช้ามืดจนถึงค่ำมืดเลยทีเดียว
          กลุ่มๆ หาดนตรีพื้นบ้าน แห่กันไปในหมู่บ้าน เพื่อเรี่ยไรทรัพย์สินเงินทองของชาวบ้านมาทำเป็นกัณฑ์เทศน์ เมื่อรวบรวมได้พอสมควรแล้ว ก็จะแห่เข้ามาในวัดโดยไม่บอกกล่าวไว้ล่วงหน้า กัณฑ์เทศน์ที่ลักลอบเข้ามาเช่นนี้ เรียกว่า กัณฑ์หลอน ส่วนมากกัณฑ์หลอนจะเข้ามาตอนบ่ายหรือตอนค่ำ ซึ่งมักจะไม่ตรงกับการเทศน์ กัณฑ์มัทรีกุมาร ชูชก มหาราช ถ้ากัณฑ์หลอนเข้ามาในช่วงพระรูปใดกำลังเทศน์อยู่พระรูปนั้นก็จะได้รับกัณฑ์หลอนนั้นเองบุญผะเหวดนี้ นิยมกระทำกันในภาคอีสานจนถึงปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ส่งเสริมขึ้นมากเป็นพิเศษ ให้เป็นงานเทศกาลประจำปีของจังหวัดและมีโครงการของหน่วยงานราชการ และหน่วยงานเอกชนเข้าร่วมอีกมากมาย เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวชมงานเพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี


ความเชื่อ

          บุญพระเวส หรือ บุญมหาชาติ ซึ่งเป็นการทำบุญในเดือนสี่ บางครั้งก็เรียก บุญเดือนสี่ในบางท้องถิ่นจะทำบุญเดือนนี้ในเดือนสามรวมกับบุญข้าวจี่และบุญกุ้มข้าวใหญ่ ให้เป็นบุญเดียวกันส่วนเดือนสี่ก็เว้นไว้ บุญผะเหวดส่วนมากจะกระทำกันในเดือนสี่ แต่จะกำหนดเอาไว้วันใดนั้นแล้วแต่ความพร้อม เพราะว่าต้องมีการปรึกษาหารือและลงมติกันระหว่างผู้นำในหมู่บ้าน เช่น ผู้อาวุโส กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และพระสงฆ์ ตลอดผู้ทรงวุฒิต่างๆ ในหมู่บ้านการทำบุญผะเหวด เป็นการทำบุญเนื่องด้วยการรำลึกถึงอดีตชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้าที่ได้เกิดมาเป็นพระเวสสันดร และได้บำเพ็ญทานบารมีอย่างแก่กล้า บรรพบุรุษชาวอีสานได้นำมาประสมประสานกับการละเล่นพื้นบ้านให้เกิดความสนุกสนานรื่นเริง ตามนิสัยรักสนุกของชาวอีสานแต่กำเนิดนั้นเอง การกำหนดวันงาน มี ๒ วัน คือ วันโฮม (วันรวม) และ วันฟังเทศน์ ในวันโฮมฝ่ายสตรีแม่บ้านทั้งหลาย จะเป็นผู้จัดบ้านเรือนไว้รับแขกบ้านอื่นและสตรีทำข้าวปุ้น (ขนมจีน)ไว้ทุกบ้านเรือน เตรียมของหวาน หมากพลู บุหรี่ และที่นอนไว้คอยรับแขกด้วย เพราะอาจจะมีผู้มาพักค้างคืน ส่วนฝ่ายชายซึ่งเป็นพ่อบ้านจะพากันไปเตรียมไว้ที่วัด จัดสถานที่ ทำที่ฟังเทศน์ ประดับประดาธรรมาสน์ ปักธงทิวไว้รอบวัด และทำที่หออุปคุต รูปนก รูปสัตว์ แขวนไว้ที่ศาลาการเปรียญ สำหรับพระภิกษุ-สามเณร ก็เตรียมสถานที่ต้อนรับพระภิกษุสามเณร ที่มาจากบ้านอื่น ที่จะต้องมาพักแรมเพื่อร่วมเทศน์ในวันรุ่งขึ้นพิธีแห่อุปคุต ในตอนเย็นของวันรวม จะมีการอัญเชิญพระอุปคุตจากแหล่งน้ำมาสู่ศาลาวัด มีเรื่องราวกล่าวไว้ว่า ในอดีตพระอุปคุต ซึ่งเป็นพระเถระผู้ทรงฤทธิ์ นิรมิตกุฏิ อยู่กลางแม่น้ำใหญ่ สามารถปราบภูตผีปีศาจได้ ครั้งสมัย พระเจ้าอโศกมหาราช ได้รวบรวมพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากที่ต่างๆ มาบรรจุไว้ในสถูปเจดีย์ที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมาใหม่ เสร็จแล้วจะทำการฉลองจึงทรงปริวิตกถึงมารผู้เป็นศัตรูคู่เวรของพระพุทธเจ้าจึงทรงรับสั่งให้ไปนิมนต์พระอุปคุตมาในพิธีฉลองนั้น เมื่อมารรู้ว่าพระเจ้าอโศกมหาราชจะฉลองสถูปเจดีย์ก็มาแสคงฤทธิ์โต้ตอบกับพระอุปคุต ครั้งสุดท้ายพระอุปคุตได้เนรมิตหนังสุนัขเน่า ผูกแขวนคอมารไว้ มารไม่สามารถแก้ให้หลุดได้ในที่สุดมารก็ยอมแพ้ พระอุปคุตจึงแก้หนังสุนขออกจากคอมารและนำเอาตัวไปกักขังไว้บนยอดเขา การฉลองพระสถูปเจดีย์ ครั้งนั้นจึงปลอดภัยและสำเร็จลงด้วยดี ดังนั้น บุญผะเหวดจึงนำเรื่องราวของพระอุปคุตมาเกี่ยวข้อง โดยถือความเชื่อจากเรื่องราวดังกล่าวนั้น จัดเป็นหอเล็กๆ ข้างในบรรจุอัฐบริขารไว้ครบชุด เรียกว่า หออุปคุต ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของศาลาการเปรียญ เพื่อให้งานบุญผะเหวดมีความสงบเรียบร้อยด้วยประการทั้งปวงการทำบุญผะเหวด มีกิจกรรมเป็นขั้นตอน ดังนี้
     ๑. การใส่หนังสือ เมื่อได้กำหนดวันงานแล้ว จะกำหนดการใส่หนังสือคือเอาหนังสือใบลานหรือ ลำผะเหวดมาแบ่งย่อยๆออกประมาณ ๓๐-๔๐ ผูกเป็นชุดแล้วนำเอาหนังสือที่แบ่งไว้นั้น ไปให้ตามวัดต่างๆ เพื่อพระสงฆ์จากวัดนั้นๆ จะนำไปเทศน์ตามวันที่กำหนดไว้โดยที่พระจะทราบเองว่าใบลานชุดของตัวเองได้มานี้อยู่กัณฑ์ไหน เมื่อถึงผูกของตนก็จะนำขึ้นไปเทศน์และทั้งหมดนั้นจะเป็นอักษรตัวธรรม การกระทำเช่นนี้เรียกว่า  การใส่หนังสือ
     ๒. การแห่ผะเหวด และ การแห่ข้าวพันก้อน ในตอนเย็นของวันโฮมจะมีการไปรวมกันที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งสมมติกันว่าเป็นป่า ตามเรื่องราวในพระเวสสันดรชาดกและพากันแห่ผ้าซึ่งเขียนภาพเป็นเรื่องราวพระเวสสันดรชาดกทั้ง ๑๓ กัณฑ์ เข้สู่หมู่บ้าน ตามระยะทางจะมีผู้ตั้งหม้อน้ำหอมไว้ สำหรับให้ผู้ที่แห่ผะเหวดไว้เอาดอกไม้จุ่มเป็นการบูชาพระเวสสันดร พอถึงบริเวณวัดก็จะนำผ้าไปขึงไว้บริเวณรอบศาลาการเปรียญหมู่บ้านบางแห่งจะแห่ข้าวพันก้อนไปด้วย แต่ส่วนใหญ่นิยมแห่ข้าวพันก้อนในตอนเช้ามืดของวันรุ่งขึ้นข้าวพันก้อน หมายถึง ข้าวเหนียวทำเป็นก้อนเล็กๆ โดยการแบ่งคนละกัณฑ์ หรือ คุ้มละ ๕ กัณฑ์ ก็ได้ แล้วไปจัดทำข้าวมาตามจำนวนพระคาถาในแต่ละกัณฑ์บ้านละเล็กบ้านละน้อยเข้ากันได้ ๑,๐๐๐ ก้อน และนำมาถวายพุทธบูชา ในวันเทศน์มหาชาติ เป็นการบูชา พระคาถาและมีชื่อดังนี้
๑. ทศพร ๑๙ พระคาถา
๒. หิมพานต์ ๑๓๔ พระคาถา
๓. ทานกัณฑ์ ๒๐๙ พระคาถา
๔. วนปเวส ๕๗ พระคาถา
๕. ชูชก ๗๙ พระคาถา
๖. จุลพน ๓๕ พระคาถา
๗. มหาพน ๘๐ พระคาถา
๘. กุมาร ๑๐๑ พระคาถา
๙. มัทรี ๙๐ พระคาถา
๑๐. สักกบรรพ์ ๔๓ พระคาถา
๑๑. มหาราช ๖๙ พระคาถา
๑๒. ฉกษัตริย์ (หกกษัตริย์) ๓๖ พระคาถา
๑๓. นครกัณฑ์ ๔๖ พระคาถา
          นอกจากนี้ยังมีธงทิวอีก ๑,๐๐๐ ผืนซึ่งมีจุดประสงค์ให้ครบ ๑,๐๐๐ คาถาเหมือนกับ ข้าวพันก้อน จะปักไว้หน้าพระ พุทธรูป หรือ ตามธรรมาสน์ หรือ วางไว้ตามต้นเสาธงทิวธงทิว ทำเป็นรูปช้าง ม้า เจดีย์ และอื่นๆ ขึงให้ยาวประมาณ ๑๐ เมตร ปักอยู่บนรอบบริเวณวัด




2 ความคิดเห็น:

  1. Lucky Club Casino Site
    Lucky Club Casino Site. Casino Reviews, Ratings, Games, Security, Bonuses, luckyclub Customer Support. Rating: 2.7 · ‎11 votes · ‎Free · ‎iOS · ‎Game

    ตอบลบ
  2. Top 10 Best Poker Sites: No Deposit Casinos 2021 - JTMHub
    But there are quite a few reputable 경주 출장마사지 online poker sites that do 부산광역 출장안마 not offer free cash or no deposit bonuses. Here are the 동두천 출장마사지 top 대전광역 출장샵 10 양산 출장안마 best no deposit sites.

    ตอบลบ